พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
เหรียญสมเด็จพระ...
เหรียญสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสาโร) วัดราชผาติการาม กทม.รุ่นแรก
พระมหาวีรวงศ์ วิน ธรรมสารมหาเถระ วัดราชผาติการาม กทม. ประวัติ มีนามเดิมว่า วิน ทีปานุเคราะห์ เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 29 กันยายน 2449 ณ บ้านนาพญา อ.ขันเงิน จ.หลังสวน (ปัจจุบัน คือ อ.หลังสวน จ.ชุมพร) สำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ 3 จากโรงเรียนประชาบาล วัดนาบุญ ก่อนเข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนวัดโตนด เรียนอยู่ได้ประมาณ 6 เดือน ต้องลาออก เพราะมารดาประสงค์จะให้บรรพชาเป็นสามเณร บรรพชาเป็นสามเณรปี2466ที่วัดโตนด อ.หลังสวน จ.ชุมพร ท่านเจ้าคุณพระธรรมารามคณีสุปรีชา (หนู อชิโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่าน อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดราชาธิวาส ซึ่งมีท่านเจ้าคุณ พระธรรมวโรดม (เซ่ง อุตฺตโม) เป็นเจ้าอาวาสในครั้งนั้น แต่ด้วยความเคารพในอาวุโสและคุณธรรม จึงได้นิมนต์พระอุปัชฌาย์เดิมหนู อชิโต) มานั่งเป็นพระอุปัชฌาย์ในพิธีอุปสมบท หลังจากนั้นก็มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรม จนสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก และสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ที่สำนักเรียนวัดราชาธิวาส กรุงเทพฯ ท่านได้สร้างคุณูปการแก่วงการคณะสงฆ์นานัปการ ได้รับตำแหน่งด้านปกครอง อาทิ พ.ศ.2486 เป็นกรรมการเถรสมาคมธรรมยุต พ.ศ.2493 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2494-2536 เป็นเจ้าคณะอำเภอดุสิต ปทุมวัน พระโขนง บางเขน บางกะปิ (ธรรมยุต) พ.ศ.2503 เป็นแม่กองธรรมสนามหลวงและเป็นเจ้าอาวาสวัดราชผาติการาม พ.ศ.2508 เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2484 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระอริยเมธี ในรัชกาลที่ 8 พ.ศ.2490 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชเมธี พ.ศ.2496 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพโมลี พ.ศ.2500 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมปาโมกข์ พ.ศ.2509 เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะ ที่ พระพรหมมุนี พ.ศ.2512 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ รูปแรก ในรัชกาลที่ 9 สถิต ณ วัดราชผาติการาม ย้อนหลังกลับไป เมื่อครั้งเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไปอยู่วัดราชผาติการามใหม่ๆ ท่านให้สร้างกุฏิไม้หลังเล็กๆ กว้างยาวพอปูที่นอนและเหลือที่นั่งอ่านหนังสือ ฉันหมาก ฉันน้ำชา น้ำอ้อย น้ำส้มคั้น เป็นครั้งคราว ไม่นิยมฉันจุกจิก เจ้าประคุณสมเด็จถือว่างานหลักในชีวิต คือ การเตรียมเทศน์ วันพระ การอ่านและการขบคิดธรรมะในพระไตรปิฎก คือ งานหมายเลข 1 ติดตามด้วยหนังสืองานศพที่ผู้รู้หลายท่านถือว่ามีค่าที่สุดในเมืองไทย ติดตามด้วยหนังสือพิมพ์ที่ผู้ใหญ่นิยมอ่านพอเป็นเครื่องกระสายการเทศน์ ท่านเจ้าประคุณจึงครุ่นคิดอยู่กับธรรมะเสมอ นิยมแสดงธรรมตามหลักพระธรรมกถึก ที่ทรงแสดงไว้ในนวโกวาท คือ 1.แสดงธรรมโดยลำดับ ไม่ตัดลัดให้ขาดความ 2.อ้างเหตุผลแนะนำให้ผู้ฟังเข้าใจ 3.ตั้งจิตเมตตาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง 4.ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ 5.ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น คือ ไม่ยกตนข่มผู้อื่น มีการนำพระบาลีมาวิเคราะห์พระพุทธคุณแต่ละบท 5 ข้อบ้าง 7 ข้อบ้าง 10 ข้อบ้าง ทั้งนี้ เพราะถือว่าเมตตากรุณาคือฐานสำคัญของการประกาศพระศาสนา นอกจากนี้ ยังมีผลงานด้านการแต่งหนังสือต่างๆ เป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ก็เคยทรงสดับพระธรรมเทศนาจากท่านเจ้าประคุณตามกาลที่เหมาะสม ดังที่ทรงมีพระราชปรารภในหนังสือพระมหาชนก ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ว่าทรงสดับพระธรรมเทศนาจากท่านเจ้าประคุณเรื่องพระมหาชนก จนทำให้พระองค์สนพระราชหฤทัย ทรงค้นเรื่องดังกล่าวจากพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่มที่ 9 ภาคที่ 2 และทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษตั้งแต่ต้นเรื่อง โดยทรงดัดแปลงเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้อ่านง่ายขึ้น นอกจากนี้ ท่านเจ้าประคุณยังได้กำหนดแนวปฏิบัติภายในวัดราชผาติการาม คือ ให้ตีระฆังเล็กเวลาตี 4 ให้พระเณรตื่นขึ้นนั่งกัมมัฏฐาน ในวันพระ เวลาบ่ายจะลงอบรมและนำอุบาสก อุบาสิกานั่งกัมมัฏฐาน หลังจากทำวัตรค่ำประจำวัน ขึ้นกุฎีแล้วจุดธูปเทียน นั่งสงบอยู่หน้าพระประธาน 15-20 นาทีทุกวัน ท่านเจ้าประคุณสมเด็จ มีพระเถระชื่อดังเป็นกัลยาณมิตรมากมาย ท่านเหล่านั้นพักและแวะเวียนอยู่เสมอ อาทิ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงพ่อนิกรครุนาถ ชุมพร, หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี เป็นต้น ท่านนิยมพูดถึงเจ้าคุณพระธรรมวโรดม วัดราชาธิวาส ซึ่งเป็นพระอาจารย์และยึดถือเป็นแบบอย่างสืบมา ว่า ท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นพระที่ละเอียดอ่อนในระเบียบวินัย เป็นต้นว่า การจัดกระถางธูป เชิงเทียน แจกันหน้าพระ เป็นระเบียบเรียบร้อยปฏิบัติเคร่งครัดในพระวินัยขั้นละเอียด กวดขันว่าพระไม่ควรจับต้องวัตถุอนามาส ไม่ควรจับต้องเครื่องปรุงอาหาร ศาสตรา อาวุธ เครื่องแต่งกายของคฤหัสถ์สตรี เครื่องดนตรี พระไม่ควรดมดอกไม้ตามวินัยชั้นสูง เมื่อพระธรรมวโรดม รับหน้าที่เป็นเจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราช และภูเก็ต เจ้าพระคุณสมเด็จ รับหน้าที่เป็นเลขานุการ การปฏิบัติตามระเบียบวินัยเหล่านี้ สืบสายมาแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร ท่านเจ้าประคุณก็พลอยได้รับต้นแบบที่ดี และปฏิบัติตามเข้าถึงต้นแบบ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มีบุคลิกสง่าแกมอ่อนน้อม รูปร่างสูงใหญ่กว่าพระเณรทั่วไป มีน้ำเสียงนุ่มไพเราะ เป็นต้นแบบการสวดสรภัญญะเป็นอย่างดี และมักต้องรับหน้าที่ขัดตำนานในพระราชพิธีต่างๆ เพราะได้ฝึกฝนในเรื่องนี้จนเป็นต้นแบบได้ พระเถระต่างกล่าวชมว่า น้ำเสียงไพเราะทำนองเหมาะสม เมื่อย่างเข้าสู่วัยชรา อาพาธเนื่องจากอาการเส้นโลหิตดำที่ขาซ้ายตีบตัน เป็นเหตุให้ขาด้านซ้ายบวม ได้เข้าพักรักษาที่โรงพยาบาลศิริราชเป็นครั้งคราว และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์มาโดยตลอด ครั้งสุดท้าย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2536 และได้ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ ในวันเสาร์ที่ 10 เมษายน 2536 เวลา 00.10 น. สิริอายุ 87 พรรษา 65
ผู้เข้าชม
1143 ครั้ง
ราคา
ปิดรายการขายแล้ว
สถานะ
ขายแล้ว
โดย
ชื่อร้าน
KoonThong_Amulets
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
โทรสอบถาม
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
420-8-047xx-x467-2-246xx-x

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
somphopบ้านพระสมเด็จBAINGERNdigitalplusบ้านพระหลักร้อยchathanumaan
SpidermanNongBossvanglannakaew กจ.Le29Amuletยุ้ย พลานุภาพ
เจริญสุขtangmoพระเครื่องโคกมนว.ศิลป์สยามยิ้มสยาม573น้ำตาลแดง
termboonponsrithong2เอก พานิชพระเครื่องภูมิ IRMannan4747เพชร สารคาม
หริด์ เก้าแสนjazzsiam amuletPoosuphan89Netnapaทองธนบุรีพีพีพระเครื่อง

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1198 คน

เพิ่มข้อมูล

เหรียญสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสาโร) วัดราชผาติการาม กทม.รุ่นแรก



  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
เหรียญสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสาโร) วัดราชผาติการาม กทม.รุ่นแรก
รายละเอียด
พระมหาวีรวงศ์ วิน ธรรมสารมหาเถระ วัดราชผาติการาม กทม. ประวัติ มีนามเดิมว่า วิน ทีปานุเคราะห์ เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 29 กันยายน 2449 ณ บ้านนาพญา อ.ขันเงิน จ.หลังสวน (ปัจจุบัน คือ อ.หลังสวน จ.ชุมพร) สำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ 3 จากโรงเรียนประชาบาล วัดนาบุญ ก่อนเข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนวัดโตนด เรียนอยู่ได้ประมาณ 6 เดือน ต้องลาออก เพราะมารดาประสงค์จะให้บรรพชาเป็นสามเณร บรรพชาเป็นสามเณรปี2466ที่วัดโตนด อ.หลังสวน จ.ชุมพร ท่านเจ้าคุณพระธรรมารามคณีสุปรีชา (หนู อชิโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่าน อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดราชาธิวาส ซึ่งมีท่านเจ้าคุณ พระธรรมวโรดม (เซ่ง อุตฺตโม) เป็นเจ้าอาวาสในครั้งนั้น แต่ด้วยความเคารพในอาวุโสและคุณธรรม จึงได้นิมนต์พระอุปัชฌาย์เดิมหนู อชิโต) มานั่งเป็นพระอุปัชฌาย์ในพิธีอุปสมบท หลังจากนั้นก็มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรม จนสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก และสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ที่สำนักเรียนวัดราชาธิวาส กรุงเทพฯ ท่านได้สร้างคุณูปการแก่วงการคณะสงฆ์นานัปการ ได้รับตำแหน่งด้านปกครอง อาทิ พ.ศ.2486 เป็นกรรมการเถรสมาคมธรรมยุต พ.ศ.2493 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2494-2536 เป็นเจ้าคณะอำเภอดุสิต ปทุมวัน พระโขนง บางเขน บางกะปิ (ธรรมยุต) พ.ศ.2503 เป็นแม่กองธรรมสนามหลวงและเป็นเจ้าอาวาสวัดราชผาติการาม พ.ศ.2508 เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2484 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระอริยเมธี ในรัชกาลที่ 8 พ.ศ.2490 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชเมธี พ.ศ.2496 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพโมลี พ.ศ.2500 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมปาโมกข์ พ.ศ.2509 เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะ ที่ พระพรหมมุนี พ.ศ.2512 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ รูปแรก ในรัชกาลที่ 9 สถิต ณ วัดราชผาติการาม ย้อนหลังกลับไป เมื่อครั้งเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไปอยู่วัดราชผาติการามใหม่ๆ ท่านให้สร้างกุฏิไม้หลังเล็กๆ กว้างยาวพอปูที่นอนและเหลือที่นั่งอ่านหนังสือ ฉันหมาก ฉันน้ำชา น้ำอ้อย น้ำส้มคั้น เป็นครั้งคราว ไม่นิยมฉันจุกจิก เจ้าประคุณสมเด็จถือว่างานหลักในชีวิต คือ การเตรียมเทศน์ วันพระ การอ่านและการขบคิดธรรมะในพระไตรปิฎก คือ งานหมายเลข 1 ติดตามด้วยหนังสืองานศพที่ผู้รู้หลายท่านถือว่ามีค่าที่สุดในเมืองไทย ติดตามด้วยหนังสือพิมพ์ที่ผู้ใหญ่นิยมอ่านพอเป็นเครื่องกระสายการเทศน์ ท่านเจ้าประคุณจึงครุ่นคิดอยู่กับธรรมะเสมอ นิยมแสดงธรรมตามหลักพระธรรมกถึก ที่ทรงแสดงไว้ในนวโกวาท คือ 1.แสดงธรรมโดยลำดับ ไม่ตัดลัดให้ขาดความ 2.อ้างเหตุผลแนะนำให้ผู้ฟังเข้าใจ 3.ตั้งจิตเมตตาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง 4.ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ 5.ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น คือ ไม่ยกตนข่มผู้อื่น มีการนำพระบาลีมาวิเคราะห์พระพุทธคุณแต่ละบท 5 ข้อบ้าง 7 ข้อบ้าง 10 ข้อบ้าง ทั้งนี้ เพราะถือว่าเมตตากรุณาคือฐานสำคัญของการประกาศพระศาสนา นอกจากนี้ ยังมีผลงานด้านการแต่งหนังสือต่างๆ เป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ก็เคยทรงสดับพระธรรมเทศนาจากท่านเจ้าประคุณตามกาลที่เหมาะสม ดังที่ทรงมีพระราชปรารภในหนังสือพระมหาชนก ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ว่าทรงสดับพระธรรมเทศนาจากท่านเจ้าประคุณเรื่องพระมหาชนก จนทำให้พระองค์สนพระราชหฤทัย ทรงค้นเรื่องดังกล่าวจากพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่มที่ 9 ภาคที่ 2 และทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษตั้งแต่ต้นเรื่อง โดยทรงดัดแปลงเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้อ่านง่ายขึ้น นอกจากนี้ ท่านเจ้าประคุณยังได้กำหนดแนวปฏิบัติภายในวัดราชผาติการาม คือ ให้ตีระฆังเล็กเวลาตี 4 ให้พระเณรตื่นขึ้นนั่งกัมมัฏฐาน ในวันพระ เวลาบ่ายจะลงอบรมและนำอุบาสก อุบาสิกานั่งกัมมัฏฐาน หลังจากทำวัตรค่ำประจำวัน ขึ้นกุฎีแล้วจุดธูปเทียน นั่งสงบอยู่หน้าพระประธาน 15-20 นาทีทุกวัน ท่านเจ้าประคุณสมเด็จ มีพระเถระชื่อดังเป็นกัลยาณมิตรมากมาย ท่านเหล่านั้นพักและแวะเวียนอยู่เสมอ อาทิ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงพ่อนิกรครุนาถ ชุมพร, หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี เป็นต้น ท่านนิยมพูดถึงเจ้าคุณพระธรรมวโรดม วัดราชาธิวาส ซึ่งเป็นพระอาจารย์และยึดถือเป็นแบบอย่างสืบมา ว่า ท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นพระที่ละเอียดอ่อนในระเบียบวินัย เป็นต้นว่า การจัดกระถางธูป เชิงเทียน แจกันหน้าพระ เป็นระเบียบเรียบร้อยปฏิบัติเคร่งครัดในพระวินัยขั้นละเอียด กวดขันว่าพระไม่ควรจับต้องวัตถุอนามาส ไม่ควรจับต้องเครื่องปรุงอาหาร ศาสตรา อาวุธ เครื่องแต่งกายของคฤหัสถ์สตรี เครื่องดนตรี พระไม่ควรดมดอกไม้ตามวินัยชั้นสูง เมื่อพระธรรมวโรดม รับหน้าที่เป็นเจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราช และภูเก็ต เจ้าพระคุณสมเด็จ รับหน้าที่เป็นเลขานุการ การปฏิบัติตามระเบียบวินัยเหล่านี้ สืบสายมาแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร ท่านเจ้าประคุณก็พลอยได้รับต้นแบบที่ดี และปฏิบัติตามเข้าถึงต้นแบบ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มีบุคลิกสง่าแกมอ่อนน้อม รูปร่างสูงใหญ่กว่าพระเณรทั่วไป มีน้ำเสียงนุ่มไพเราะ เป็นต้นแบบการสวดสรภัญญะเป็นอย่างดี และมักต้องรับหน้าที่ขัดตำนานในพระราชพิธีต่างๆ เพราะได้ฝึกฝนในเรื่องนี้จนเป็นต้นแบบได้ พระเถระต่างกล่าวชมว่า น้ำเสียงไพเราะทำนองเหมาะสม เมื่อย่างเข้าสู่วัยชรา อาพาธเนื่องจากอาการเส้นโลหิตดำที่ขาซ้ายตีบตัน เป็นเหตุให้ขาด้านซ้ายบวม ได้เข้าพักรักษาที่โรงพยาบาลศิริราชเป็นครั้งคราว และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์มาโดยตลอด ครั้งสุดท้าย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2536 และได้ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ ในวันเสาร์ที่ 10 เมษายน 2536 เวลา 00.10 น. สิริอายุ 87 พรรษา 65
ราคาปัจจุบัน
ปิดรายการขายแล้ว
จำนวนผู้เข้าชม
1148 ครั้ง
สถานะ
ขายแล้ว
โดย
ชื่อร้าน
KoonThong_Amulets
URL
เบอร์โทรศัพท์
0817893860
ID LINE
โทรสอบถาม
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
3. ธนาคารไทยพาณิชย์ / 420-8-047xx-x
4. ธนาคารกสิกรไทย / 467-2-246xx-x




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี